"ขอขอบพระคุณทุกเสียงจากชาวจุฬาฯ ที่เสนอเป็นหนึ่งในสามชื่อจากสภาคณาจารย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาอธิการบดีขั้นถัดไป ทุกคะแนนเสียงและการเสนอชื่อจากสภาคณาจารย์ครั้งนี้เป็นกำลังใจและเป็นพลังสำคัญให้ผมมุ่งหน้าตามวิสัยทัศน์ในการพัฒนาจุฬาฯ ไปข้างหน้าด้วยกันอย่างสุดความสามารถครับ ขอบพระคุณจากใจ" ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมจุฬาฯ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ในงานแถลงนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยและตอบคำถาม ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระ พ.ศ. 2567-2571 เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567
CHULA TOGETHERNESS
แนวทางในการพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด
‘CU POWER OF TOGETHERNESS'
TOGETHERNESS #1
... ผสานพลังจากทุกศาสตร์
TOGETHERNESS #2
... ผสานพลังจากทุกภาคส่วน
TOGETHERNESS #3
... ผสานพลังจากชุมชนและสังคม
จุฬาฯ ยุคใหม่ ต้องโตไประดับโลก นโยบายที่ทำได้จริง และทำได้เลย
เป้าหมายการพาจุฬาฯ สู่การเป็น Global Thai University ทำได้จริง จากประสบการณ์ของศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ที่เชื่อมโยงพลังจุฬาฯ กับองค์กรระดับโลก เช่น WEF, UN และ Oxfam มาแล้ว มาร่วมพลัง เดินหน้าสู่ระดับโลกไปพร้อมๆกัน
ยกระดับตำแหน่งทางวิชาการทำอย่างไรถึงจะได้
กลยุทธ์ผลักดันตำแหน่งทางวิชาการ กับนโยบายที่จะผสานพลังเพื่อสร้างความก้าวหน้าด้านตำแหน่งทางวิชาการ ให้กับคณาจารย์จุฬา ฯ การันตีด้วย 2 รางวัลใหญ่จาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) เพราะคณาจารย์คือ มือขวา และกำลังสำคัญในการพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ก้าวสู่การเป็น The Global Thai University มาร่วมพลังกัน แล้วก้าวสู่เวทีโลกไปพร้อมๆกัน
วิสัยทัศน์ที่ดี เป็นอย่างไร? และส่งผลต่อการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? การกำหนด "วิสัยทัศน์" ที่ถูกต้อง ไปพร้อมๆกัน เพราะวิสัยทัศน์ที่ดี ต้องยังไม่เกิดขึ้น ต้องเป็นฝันที่ใหญ่ แต่ต้องสามารถไปถึงได้ มาฟังวิสัยทัศน์ ที่นำไปสู่การผสานพลังเพื่อพาจุฬาฯไปสู่ความสำเร็จในเวทีโลก ในอีก 4 ปีข้างหน้า
แผนยุทธศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉบับ พ.ศ. 2567 - 2571
วิสัยทัศน์
(Vision)
Global University providing life-changing values with innovative wisdom, mastery and philanthropic spirit
มหาวิทยาลัยของแผ่นดินไทยระดับโลกที่สร้างคุณค่าแห่งการเปลี่ยนชีวิตด้วยการเป็นแหล่งอุดมปัญญา ที่เป็นที่พึ่งพิงได้และสร้างจิตวิญญาณของประชาคมและนิสิตจุฬาฯ ในการรับใช้สังคมอย่างแท้จริง
คุณค่าหลักองค์กร
(Core Value)
CHULAness
C - Country Centricity
H - Harmony
U - Universal
L - Lifelong Learning
A - Agility
กลยุทธ์และนโยบาย
4 ผสานพลัง
คณาจารย์ บุคคลากรณ์
ชุมชน สังคม
องค์กรภาครัฐ, เอกชน และศิษย์เก่า
องค์กรนานาชาติ
8 กลยุทธ์
จากปัจจุบันสู่อนาคตใหม่ของจุฬาฯ ร่วมกัน
8 นโยบาย
เกียรติภูมิจุฬาฯ มหาวิทยาลัยของแผ่นดินไทยระดับโลก
28 โครงการ
ด้วยพลังแห่งความร่วมมือนี้จะทำให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายเป็น THE MOST ADMIRED AND CONNECTED UNIVERSITY IN THAILAND
Stakeholder #1
INTERNATIONAL
GROWTH
ผสานพลังองค์กรนานาชาติ
Strategy #1
From Reactive Internationally
To Proactive Globally
Policy #1
1 Proactive Global connect (Big fish strategy)
มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในเชิงรุกกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติมากขึ้น
2 Accreditation Support Center
จัดตั้งศูนย์สนับสนุนการรับรองคุณภาพการศึกษาระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนคณะ และหน่วยงานภายใน
3 Chula Global Report Center
จัดตั้งศูนย์รวบรวมงานวิจัยระดับนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการที่ใหญ่ และเป็นสากลมากที่สุด
Stakeholder #2
IMPACT
GROWTH
ผสานพลังสู่ชุมชน และสังคม
Strategy #2
From Sustainability
To Philanthropic Spirit
Policy #2
1 Chula Extension School
ขยายหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการศึกษาเพิ่มเติมทั้งจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งใน และนานาชาติ
2 CU SIFE
1 ชุมชน 1 นวัตกรรม
3 Chula Traffy Fondue
สร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงจุฬาฯ และสังคม เพื่อประสานความต้องการ และ นวัตกรรมของจุฬาฯ เข้าหากัน
Stakeholder #3
INTERNAL
GROWTH
ผสานพลังคณาจารย์ และบุคลากร
Strategy #3 คณาจารย์
From Applied Research
To World-changing research
Policy #3
1 Personalized Track
คณาจารย์เลือก track สอน,วิจัย หรือบริหารได้ตามความถนัดของตนเอง
2 Mentoring Program
สร้างระบบอาจารย์พี่เลี้ยงที่ช่วยวางแผน และสนับสนุน การขอตำแหน่งทางวิชาการ
3 Research Funding Support
เชื่อมโยงการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และนานาชาติ เพื่อสนับสนุน และผลักดันงานวิจัยให้ออกสู่สังคม และสร้าชื่อเสียงให้กับอาจารย์ และมหาวิทยาลัย
Strategy #4 บุคลากร
From Engagement
To Lifetime Value
Policy #4
1 CHULAness - Employer Branding
สร้างแบรนด์องค์กรจุฬาฯ ผ่านการสร้าง และสื่อสารวัฒนธรรมภายในที่ดีงาม และสร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดใจให้กับคนเก่งจากภายนอก ให้อยากมาร่วมงานกับจุฬาฯ
2 Chula Employee Privilege
เปลี่ยนพื้นที่หารายได้ของจุฬาฯ สู่การสร้างระบบสวัสดิการ (CU Membership Card) เพื่อคนจุฬาฯ สร้างความผูกพัน และความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงานเป็นบุคลากรจุฬาฯ
3 Personalized Track
ให้บุคลากรสามารถกำหนดแผนในการเติบโตไปในทิศทางที่เหมาะสมกับเป้าหมายของแต่ละคนได้
4 Employee Fund
กองทุนบุคลากร สนับสนุนการไปดูงานต่างประเทศแก่บุคลากร
5 Chula Secondary Hospital
เพิ่มโรงพยาบาลสนับสนุนเพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลจุฬาฯ
6 Skill-Based Benefit
พิจารณาเลื่อนตำแหน่ง และเพิ่มค่าตอบแทนตามความเชี่ยวชาญของบุคลากร ที่จำเป็นต่อการทำงานในตำแหน่งงานนั้นๆ
7 Chula Certified Platform
ยกระดับ Lifelong Learning สู่การสร้างหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรที่ได้รับการรองรับคุณภาพที่ได้รับการยอมรับ
8 ปรับโครงสร้างเงินนอกเวลา
พิจารณาเพิ่มเงินนอกเวลา (OT)
9 Chula Kindergarten
ขยายศูนย์รับอนุบาลเด็กเล็กสำหรับประชาคมจุฬาฯ
10 Chula Marketplace
จัดสรรพื้นที่จาก PMCU รวมถึงช่องทางออนไลน์ เพื่อให้บุคลากรจุฬาฯ และครอบครัวสามารถนำสินค้ามาซื้อ-ขายกันได้
11 Chula Retirement center
ศูนย์ช่วยวางแผนการเกษียณ
12 บ้านพักจุฬาฯรวมใจ
จัดตั้งบ้านพักหลังเกษียณให้กับบุคลากรจุฬาฯ
Stakeholder #4
องค์กรภาครัฐ, เอกชน และศิษย์เก่า
ผสานพลังจากภายนอก
Strategy #5
From External
To Integral
Policy #5
1 Joint Venture & MOU
เดินหน้าสร้างความร่วมมือใหม่ๆ กับหน่วยงานภายนอกเพื่อเสริมและสร้างสรรค์โครงการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ
2 Chula Enterprise
สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่ดำเนินการโดยคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจุฬาฯ โดยการสนับสนุนและร่วมทุนโดยองค์กรภายนอก และเปิดโอกาสให้คนในร่วมถือหุ้นด้วย
Stakeholder #5
INNOVATIVE
GROWTH
Strategy #6
From Knowledge Base
To Mastery Base
Policy #6
1 LinkedIn Chula
จัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมในการทำงานให้กับนิสิต
2 Chula Business Officer
จัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมในการทำงานให้กับนิสิต
3 Experience-Oriented Learning Design
สร้างศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นการสร้างประสบการณ์จริงในการทำงานให้กับนิสิต
Stakeholder #6
GROWTH
MANAGEMENT
Strategy #7
From Top-Down Management
To Merging sort
Policy #7
ปรับรูปแบบการบริหารจากบนลงล่าง
เป็นการผสานความร่วมมือ และผสานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Strategy #8
From Revenue-Based
To Business-Based
Policy #8
ปรับแนวคิดการบริหารรายได้
จากเดิมที่รองบประมาณ มาเป็นการริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในเรื่องของรายได้มากยิ่งขึ้น
พันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอีกสี่ปีข้างหน้า
MISSION: Chulalongkorn University is the most connected institution of all related knowledge fields and is committed to developing competent innovative and ethical business leaders, being global-oriented, impacting community as well as advancing innovation and business-related wisdom which lead to sustainable society growth of Thailand and Asian region.
พันธกิจ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นสถาบันที่เป็นศูนย์กลางและเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศาสตร์ที่หลากหลายและมีพันธสัญญาในการสร้างผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ มีแนวคิดนวัตกรรมใหม่ๆ มีจริยธรรม นำพาสถาบันสู่ระดับโลก สร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญา ซึ่งในที่สุดจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศและภูมิภาคเอเชีย
" วิสัยทัศน์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำให้เกิดพันธกิจข้างต้นที่ต้องอาศัยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด สามารถตอบรับต่อสู้และมีกลยุทธ์ที่ก้าวหน้าทันต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากการที่มหาวิทยาลัยมีความหลากหลายของศาสตร์ต่าง ๆ ครอบคลุมทุกด้าน จึงต้องสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยการสร้างยุทธศาสตร์รอบทิศทั้งสี่ด้านจากคุณค่าหลักภายในของมหาวิทยาลัยและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ จึงจะทำให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายเป็น มหาวิทยาลัยของแผ่นดินไทยระดับโลกที่สร้างคุณค่าแห่งการเปลี่ยนชีวิตด้วยการเป็นแหล่งอุดมปัญญา ที่เป็นที่พึ่งพิงได้และสร้างจิตวิญญาณของประชาคมและนิสิตจุฬาฯ ในการรับใช้สังคมอย่างแท้จริง ได้แน่นอนครับ "