คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) องค์กรหนึ่งเดียวของไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) ในการจัดทำและเผยแพร่ รายงานความสามารถในการแข่งขันและอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทย มีอัตราการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และกฏหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลัง

รับชม Live สดได้ที่ Facebook CBSChula

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า CBS เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) มากว่า 5 ปี ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม 107 ประเทศทั่วโลก 

ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 51 

โดยอันดับหนึ่งในโลกได้แก่ประเทศ สวีเดน และตามด้วยสวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี (12) และสิงคโปร์ (16) ในขณะที่ มาเลย์เซียมาลำดับที่ 31 เวียตนาม 36 อินโดนีเซีย 50 และไทยลำดับ 51 จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง 4 มิติแห่งการเติบโตของประเทศ 

THE FUTURE OF GROWTH INDEX ดัชนีการเติบโตของอนาคต

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่าจะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี ค.ศ. 2030 ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ทำให้เกิดความท้าทายระดับโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสัญญาทางสังคมที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ดังนั้น การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของประเทศต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการรับมือกับความท้าทายที่หลากหลายนี้

คะแนนเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

Future of Growth Report 2024.pdf

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ กล่าวต่อไปว่า จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทย กับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่า ประเทศไทยมีคะแนนในแต่ละมิติ ดังนี้

Innovativeness ด้านนวัตกรรม 

ประเทศไทยมีคะแนน เท่ากับ 47.9 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (45.2) 

และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (39.3) 


สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม 


Inclusiveness ด้านความครอบคลุม 

ประเทศไทยได้คะแนน 55.7 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (55.9) 

และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (54.8) 


แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน


Sustainability ด้านความยั่งยืน

คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 40.8 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (46.8) 

และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (44.0) 


จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้น


Resilience ด้านความยืดหยุ่น 

ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ 

คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 51.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (52.8) เล็กน้อย 

แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (50.0) 


สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไป

" ดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้น "

HOLISTIC GROWTH STRATEGIES กลยุทธ์การเติบโตแบบองค์รวม

"การนำเสนอรายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลระดับประเทศที่ช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศจาก 4 มิติที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศในการกำหนดแนวทางนโยบาย และกลยุทธ์สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการเติบโตที่มีทั้งในด้านนวัตกรรม ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน ด้านความยั่งยืน และด้านความยืดหยุ่นให้ดียิ่งขึ้นไป"

...

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS)

ขอบพระคุณสื่อต่างๆที่ร่วมสนับสนุนงาน 

คณะบัญชีจุฬาฯ (CBS) ร่วมกับ WEF 

เผยผลการประเมินอนาคตการเติบโตของประเทศต่างๆ ทั่วโลก Future Growth 

กิจกรรมความร่วมมือ CBS x World Economic Forum ( WEF ) ที่ผ่านมา