ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งคณบดีวาระที่ 2 ผู้บริหารองค์กรการศึกษา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่ปรึกษาทางด้านกลยุทธ์และวิสัยทัศน์
Most Visionary Education Leader 2024 จาก Higher Education Digest
"Passion lies not only in imparting knowledge but in witnessing the growth of students, inspiring them to chase their dreams, and molding them into responsible global citizens"
Prof. Wilert Puriwat, D.Phil. (Oxon)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นตัวแทนจุฬาฯ ในการเชื่อมโยงศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าด้วยกันในเวทีระดับชาติของ กระทรวง อว.
ได้รับเกียรติเป็น Speaker หนึ่งเดียวจากไทย ในงาน QS Higher Education Summit 2024
งานใหญ่ประจำปีของ QS World Rankings 2024 ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆในไทย เพื่อเสนอแนะทักษะของคนรุ่นใหม่ที่อ้างได้จากการทำวิจัย ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ World Economic Forum เรื่อง Future of Jobs พร้อมเสนอแนะการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบควรจะมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง
จาก … ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ประวัติการศึกษา
● ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ปริญญาโท Master of Public and Private Management, Yale University, USA
● ปริญญาโท Master of Business Administration, Yale University, USA
● Certificate in Human Resource Management, Harvard University, USA
● DPhil (Management Studies), University of Oxford, UK
สู่ … ความไว้วางใจในการสรรสร้างเกียรติภูมิจุฬาฯ ในระดับประเทศและระดับโลก
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2567
กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
พ.ศ. 2566
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วาระที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2566 ถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2565
กรรมการสภามหาวิทยาลัย
ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2564
ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์
สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2562
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วาระที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ถึง เมษายน พ.ศ. 2566
ผมให้ความสำคัญกับประสบการณ์มากกว่าการนั่งเรียนในห้อง สิ่งเหล่านั้นจึงทำให้นิสิตหมดปัญหาเรื่องขาดประสบการณ์การทำงาน เพราะได้ทำงานตั้งแต่ก้าวแรกที่ได้เรียน ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ทำให้เห็นถึงความสำเร็จของการศึกษาที่ผมพยายามสะสมประสบการณ์ของตนเพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดกับนิสิต จึงไม่แปลกใจว่าหลักสูตรการศึกษาที่ คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้นจะแตกต่างจากที่อื่นจนได้รับรางวัลการันตีระดับโลกจาก The Triple Crown Accreditation อีกด้วย เป็นสิ่งที่ผมได้ต่อยอดสามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยในระดับสากล
เน้นหลักสูตรการสร้างปัญญาหรือเป็นผู้สร้างปัญญา มากกว่าผู้ให้ความรู้แต่ในห้องเรียน
เห็นได้ว่าเรารู้ทุกอย่างที่ผู้สอนมอบให้ แต่ถ้าหากเรานำข้อมูลมาวิเคราะห์เข้าถึงภูมิปัญญานั้นแปลว่าเราเข้าใจสิ่งนั้นได้อย่างลึกซึ้ง เปลี่ยนจากการให้ความรู้เป็นปัญญา Wisdom เราไม่ได้สู้กับหุ่นยนต์หรือ AI แต่เราต้องสู้กับคนคิดสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องคิดไปอีกขั้น การเรียนรู้แบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจึงต้องสร้างภูมิปัญญาให้เป็นผู้สร้างมากกว่าเป็นผู้ใช้ เมื่อเราสร้างภูมิปัญญาแล้วเราก็จะคิดต่อยอดได้มากกว่าความรู้ที่เรามีและไปไกลกว่าที่คิดเพื่อก้าวกระโดดสู่สิ่งใหม่ ๆ มีความคิดที่ล้ำไปอีกขั้นโดยไม่เหมือนคนอื่นและสิ่งเหล่านี้เองจะขับเคลื่อนประเทศพัฒนาไปได้ไกล
การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ
ยกระดับการศึกษาเรียนรู้เหนือระดับสร้างให้นิสิตได้ความรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นการทำงานมากกว่าแค่เรียนรู้จากในห้องเรียน ติดอาวุธประสบการณ์ตั้งแต่ก้าวแรกที่เป็นนิสิต โดยมี Chulalongkorn Business Enterprise (CBE) ที่เริ่มทำใน CBS Lounge ให้เป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้คู่กับการทำงานจริงกับ CBS cafe และ CBS Mart มีการรวม Partner ชั้นนำระดับประเทศที่หลากหลายให้นิสิตได้เป็นผู้ดูแลธุรกิจและจัดระบบต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาผู้นำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เรียนรู้จากบริษัทจริงตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย
รางวัลการันตีการเรียนการสอนระดับโลก The Triple Crown Accreditation
รากฐานการศึกษาสำคัญมากในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง การเรียนการสอนที่ต่างจากที่อื่น อีกทั้งนิสิตยังได้รับประสบการณ์ทำงานโดยตรงโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะและ สร้างแรงบันดาลใจให้พัฒนาต่อยอดทำให้นิสิตมีภูมิต้านทานในการศึกษาที่แข็งแกร่ง ปรับตัวให้เท่าทันกับโลกที่ไม่หยุดนิ่ง
● คณะกรรมการนโยบายการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● คณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลาง และเชี่ยวชาญระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● คณะกรรมการประกันคุณภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● คณะกรรมการอำนวยการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย
● อดีตหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2 วาระ ปี พ.ศ.2557-2562
● อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
● อดีตรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
● อดีตรองประธานกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
● อดีตหัวหน้าหน่วยงานสื่อสารองค์กร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
● อดีตกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
● อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับนานาชาติ
● ได้รับเกียรติเป็น Speaker หนึ่งเดียวจากไทย ในงาน QS Higher Education Summit 2024
● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา
● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหภาพยุโรป
● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs) สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา จากสหราชอาณาจักร
● ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับ The World Economic Forum : WEF ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย
● กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations